ไม่เคยพบเคยเห็น! เห็ดงอกและเติบโตบนลำตัวของกบหลังทอง
นักธรรมชาติวิทยากลุ่มหนึ่งรายงานการพบเห็นเหตุการณ์ที่โลกวิทยาศาสตร์ไม่เคยบันทึกไว้มาก่อน โดยขณะที่กำลังสังเกตฝูงกบหลังทอง (Indosylvirana intermedia) ที่สระน้ำริมถนนในเมืองกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย พวกเขาก็สังเกตเห็นกบหลังทองตัวหนึ่งที่แตกต่างจากพวก เพราะ “มีเห็ดเล็ก ๆ งอกออกมาจากด้านข้างลำตัวของมัน”
ทีมวิจัยระบุว่า การที่กบตัวนี้ดูเหมือนจะใช้ชีวิตและเติบโตไปพร้อม ๆ กับเห็ดรา เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขางุนงงมาก
ครั้งแรก! นักวิทย์พบหลักฐานการผสมพันธุ์ของวาฬหลังค่อมเพศเดียวกัน
“หมาป่าเชอร์โนบิล” อยู่รอดท่ามกลางกัมมันตรังสี และพัฒนายีนต้านมะเร็ง!
พบงูอนาคอนดาสายพันธุ์ใหม่ในแอมะซอน คาดมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก!
Lohit Y.Tคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ผู้เชี่ยวชาญด้านแม่น้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ ของกองทุนสัตว์ป่าโลกแห่งอินเดียในเบงกาลูรู หนึ่งในทีมผู้ค้นพบ กล่าวว่า “ตอนที่ผมสังเกตเห็นกบพร้อมกับเห็ดครั้งแรก ผมรู้สึกทึ่งและสนใจกับภาพที่เห็นนี้”
เขาเสริมว่า “ความคิดของผมคือ ต้องบันทึกมันไว้ เนื่องจากปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน เราแค่อยากให้นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยนัก และไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เป็นอันตรายสำหรับกบ”
กบหลังทองเป็นสัตว์ที่พบอยู่เป็นจำนวนมากในรัฐกรณาฏกะและเกรละทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย พวกมันมีขนาดเล็กและมีความยาวได้เพียง 7.4 เซนติเมตรเท่านั้น
Y.T. บอกว่า ขณะที่พวกเขาเฝ้าดูกบที่มีเห็ดงอกออกมา มันก็มีการเคลื่อนที่และขยับตัวอยู่เรื่อย ๆ แต่เห็ดก็ยังคงติดอยู่กับตัวของมันอย่างสมบูรณ์
การค้นพบเหตุการณ์ประหลาดนี้เกิดขึ้นในเดือน มิ.ย. 2023 และทีมนักธรรมชาติวิทยาไม่ได้จับตัวมันมาศึกษา ดังนั้นจึงไม่ทราบสาเหตุของปรากฏการณ์และชะตากรรมของกบหลังจากนั้น
แต่จากภาพถ่าย นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุในภายหลังว่า เห็ดที่งอกออกมาจากด้านข้างของกบนั้นเป็นเห็ดฝากระโปรง (Mycena sp.) ทั่วไป
เห็ดฝากระโปรงเป็นเห็ดราชนิดหนึ่งที่ส่วนใหญ่เติบโตบนไม้ที่เน่าเปื่อยจากต้นไม้ที่ตายแล้ว โดยทั่วไปเห็ดชนิดนี้จะได้รับสารอาหารจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุที่ตายแล้วหรือเน่าเปื่อย แต่การศึกษาอื่นในปี 2023 พบว่า เห็ดนี้สามารถพัฒนาให้เจริญเติบโตบนพืชที่มีชีวิตได้เช่นกัน
การศึกษาในปี 2023 เพิ่มเติมชี้ว่า เห็ดราตระกูลไมซีนาสามารถพัฒนาให้มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับพืชหรือต้นไม้ที่มีชีวิตได้ ซึ่งหมายความว่า ทั้งพืชและเห็ดราที่เติบโตบนนั้นจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยเห็ดราจะดึงสารอาหารจากพืชมาบางส่วน แลกกับการช่วยจัดการกิ่งไม้ที่ตายแล้วของต้นไม้
อย่างที่บอกไปว่า ทีมนักธรรมชาติวิทยาไม่ทราบว่าสาเหตุของการที่มีเห็ดงอออกมาจากตัวกบครั้งนี้เกิดจากอะไร แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์เสนอทฤษฎีขึ้นมาจำนวนหนึ่ง
อลิสซา เว็ตเตราอู คากาเนอร์ จากภาควิชาสาธารณสุขและระบบนิเวศที่วิทยาลัยสัตว์แพทย์ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการค้นพบ บอกว่า การค้นพบนี้น่าสนใจมาก
“เห็ดราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และการสัมผัสกับโฮสต์ที่มีศักยภาพใหม่ในสภาพแวดล้อมหรือสภาพอากาศที่แตกต่างกัน พวกมันอาจเติบโตในสถานที่ที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน” เธอกล่าว
แม้ว่าเป็นการยากที่จะทำนายชะตากรรมของกบโดยไม่ได้ศึกษาสภาพของมันเพิ่มเติม แต่คานาเกอร์ก็บอกว่า เป็นไปได้ว่า “กบที่มีสุขภาพดีอาจทนต่อการมีเห็ดรานี้มาตั้งถิ่นฐานบนผิวหนังได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ”
เธอกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อราในกบเป็นเรื่องปกติมาก และหากเห็ดนั้น “เติบโตอย่างกว้างขวางบนผิวหนังหรือโพรงในร่างกายของสัตว์ สัตว์นั้นก็อาจมีอาการของโรคเชื้อรา”
คานาเกอร์เสริมว่า มีเชื้อราหลายประเภทที่สามารถแพร่เชื้อให้กับกบได้ และเป็นไปได้ที่ยังไม่เคยมีการค้นพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อรากับกบ กบอาจมีอาการของโรคเชื้อรา เช่น “พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของกบ” หรือ “ความเสียหายที่ผิวหนัง รวมถึงแผลเปื่อยหรือก้อนที่มีลักษณะคล้ายเนื้องอก”
ด้าน คาร์ติเกยัน วสุเทวัน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่ศูนย์ชีววิทยาเซลล์และโมเลกุลในเมืองเตลังคานา ประเทศอินเดีย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการค้นพบเช่นกัน กล่าวว่า อะไรก็ตามที่ผิดปกติ รวมถึงการเจริญเติบโตของเห็ดราเช่นนี้ ถือเป็นความกังวลสำหรับสายพันธุ์กบ
“สัตว์ป่วยในป่ามีโอกาสรอดชีวิตน้อยมาก การสังเกตเห็นสัตว์ป่วยเป็นเรื่องยาก เนื่องจากพวกมันมักตายหรือถูกกินอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเรื่องแบบนี้จึงน่าสนใจและควรติดตามด้วยการสังเกตและคัดกรองกบ” วาสุเดวันกล่าว
ในตอนแรก วสุเทวันคิดว่าเห็ดติดอยู่บนผิวหนังของกบมากกว่าที่จะเติบโต แต่ภาพถ่ายในรายงานการค้นพบกลับทำให้เขาเชื่อเป็นอย่างอื่น “มันเป็นกรณีของเห็ดที่มีชีวิตบนกบที่มีชีวิต … แต่ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งก็คือ มีเศษไม้ชิ้นเล็ก ๆ อยู่ใต้ผิวหนังของกบ และเห็ดก็งอกออกมา”
Y.T. ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้อินเดียกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคฆ่ากบที่เรียกว่า ไคไตรดิโอไมโคซิส (chytridiomycosis) ซึ่งไม่แน่ใจว่า จะเกี่ยวข้องกับการที่มีเห็ดงอกออกมาจากตัวกบหรือไม่
คากาเนอร์ ซึ่งศึกษาโรคดังกล่าว บอกว่า “เห็ดชนิดนี้ไม่น่าเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคไคไตรดิโอไมโคซิส ดังนั้นฉันจึงไม่กังวลว่าเห็ดชนิดนี้จะเป็นสัญญาณโดยตรงของเชื้อไคไตรดิโอไมโคซิส … อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่กบที่มีเห็ดตระกูลไมซีนาอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความไวต่อการติดเชื้อไคไตรดิโอไมโคซิส”
เธอกล่าวว่า กบที่มีเห็ดงอกแกมาอาจมีความไวต่อการติดเชื้อไคไตรดิโอไมโคซิสเพิ่มขึ้นจากการที่ภูมิคุ้มกันถูกทำลายโดยไมซีนา หรืออาจมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น “เพราะไมซีนาได้กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของกบให้เข้าสู่ระดับสูง” ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
Y.T. บอกว่า “เราไม่มีความหวังที่จะตามหากบตัวนั้นให้พบ เนื่องจากนี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ทั่วไป” และเสริมว่า พวกเขาจะกลับไปเยือนสถานที่ที่พบกบหลังทองตัวดังกล่าวอีกครั้งในช่วงฤดูมรสุมหน้า
“ถ้าเราหามันเจอได้ มันคงจะดีมาก สถานที่ดังกล่าวมีผู้ชื่นชอบและผู้เชี่ยวชาญมากมายแวะเวียนมาบ่อย ๆ คงจะดีไม่น้อยหากนักวิจัยบางคนได้ลงมือและสามารถทำการสอบสวนต่อไปได้” Y.T. กล่าว
อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่
เรียบเรียงจาก CNN
ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 มีนาคม 2567 ลอตเตอรี่ 1/3/67
ตรวจผลออกรางวัลสลากออมสินพิเศษ 2 ปี งวดวันที่ 1 มีนาคม 2567
ประกาศฉบับที่ 1 “พายุฤดูร้อน” รับมือ พายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง